SOLAR ROOFTOP

พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาด

ติดตั้ง SOLAR ROOFTOP กับ ESCO

บริษัท วิน วิน ซัพพลาย จำกัด ดำเนินการให้ท่านแบบ Turnkey ครบ จบ ในที่เดียว ตั้งแต่

  1. การสำรวจและออกแบบ ให้คำปรึกษา แนะนำและเสนอแผนการติดตั้งโซล่าร์เซลส์ให้คุ้มค่ากับลูกค้ามากที่สุด ให้ท่านได้เห็นภาพแบบ 3D และข้อมูลประมาณการจากโปรแกรม PVSyst มาตรฐานยุโรป พร้อมทั้งจัดแผนการเงินให้ท่านได้อีกด้วย

  2. บริการประสานงานภาครัฐ เราจะเป็นผู้ดูแลเอกสารในการดำเนินงานขออนุญาตติดตั้งระบบโซล่าร์เซลส์ให้กับท่าน พร้อมดำเนินการส่งเอกสาร และติดตามผล

  3. การคัดเลือกอุปกรณ์ที่ดีที่สุด โดยเลือกใช้แผง Tier 1 ประสิทธิภาพสูงกล้ารับประกันการผลิตไฟยาวนานถึง 25 ปี (รับประกันอุปกรณ์ 10-15 ปี) และเลือกใช้อินเวอร์เตอ์ประสิทธิภาพสูงที่สามารถตรวจสอบการผลิตไฟได้ online ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถเช็คการผลิตไฟได้

  4. ติดตั้งด้วยทีมงานมืออาชีพ เราติดตั้งระบบโซล่าร์ด้วยทีมงานมืออาชีพตามมาตรฐานการไฟฟ้า

  5. บริการหลังการขาย เรามีการติดตามการผลิตแบบออนไลน์ให้ทุกวันพร้อมติดตาม ตรวจสอบ และเข้าแก้ไข หากระบบผลิตไฟผิดปกติ

หลักการทำงานของ SOLAR ROOFTOP

Solar Rooftop เป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาที่พักอาศัยหรืออาคารต่าง ๆ รับพลังงานแสงเข้ามาเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ก่อนส่งไปยังเครื่องแปลงไฟ (Inverter) เพื่อเปลี่ยนจากไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ โดยมีการเชื่อมเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้า สามารถนำไฟที่ได้มาใช้งานเพื่อลดค่าไฟรายเดือน

Solar Rooftop มีอุปกรณ์ประกอบระบบที่สำคัญคือ

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar PV Panel)

โครงรองรับแผง (Mounting Structure)

อินเวอร์เตอร์ (Inverter)

วัตต์ฮาวมิเตอร์ (Watt Hour Metre)

ระบบสายไฟต่างๆ (สายไฟ กล่อง รางสายไฟ)

Safety Switch หรือ Circuit Breaker สำหรับป้องกันและปลดวงจร Inverter

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้ากระโชก (PV Surge Protector)

ระบบ On Grid และ Off Grid แตกต่างกันอย่างไร

ระบบออนกริด ( On Grid )

เป็นระบบการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยอุปกรณ์ Inverter แล้วไปเชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายไฟของ การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (แม้ว่าจะผลิตเพื่อใช้เองไม่ขายไฟคืนให้การไฟฟ้า แต่ถ้าเชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ก็ถือว่าเป็น on grid)

ข้อดีของระบบ on grid คือ

  • มีไฟใช้แน่นอน แม้ช่วงเมฆมาก เพราะไฟฟ้าจากระบบการไฟฟ้าจะไหลเข้ามาเสริมพลังงานจาก solar cell ที่หายไปตลอดเวลา
  • ถ้าผลิตไฟได้เกินความต้องการใช้ในบ้าน สามารถขายไฟคืนเข้าระบบได้ (ต้องทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าก่อน)
  • เครื่องจักร/อุปกรณ์ในระบบมีน้อย ทำให้ค่าซ่อมบำรุงต่ำ

 

ข้อเสียของระบบ on grid คือ

  • ถ้าไฟการไฟฟ้าดับ ระบบไฟฟ้าจาก solar cell จะดับด้วย
  • การเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่การไฟฟ้ากำหนด และอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงระบบของการไฟฟ้า

ระบบออฟกริด ( off grid )

คือ ระบบ solar cell ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกเก็บในแบตเตอรี่ และนำมาใช้งานเมื่อเราเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยปริมาณความจุของแบตเตอรี่ (จำนวนลูกแบตเตอรี่) จะขึ้นอยู่กับปริมาณความต้องการใช้พลังงานของบ้านแต่ละหลัง

ข้อดีของระบบ off grid คือ

  • ประหยัดกว่า เปรียบเทียบกับกรณีที่ต้องมีการขยายเขตการไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลๆ
  • ไม่มีรายจ่ายค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้การไฟฟ้าเป็นรายเดือน ทุกๆเดือน
  • ในกรณีที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไฟฟ้าอาจจะ ตก หรือ ดับ อยู่บ่อยครั้ง การใช้ระบบ off grid ช่วยทำให้ระบบไฟฟ้าในบ้านไม่ได้รับความเสียหายจากไฟตก ไฟดับ ที่เกิดขึ้นนี้

 

ข้อเสียของระบบ off grid คือ

  • เครื่องจักร/อุปกรณ์มีมากกว่า เงินลงทุนระบบมีราคาแพงกว่า on grid
  • หากไม่มีแดดหรือมีฝนตกต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน พลังงานที่สะสมไว้ในแบตเตอรี่อาจจะหมดได้

 

Solar hybrid

คือ ระบบที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยรวมข้อดีของทั้ง solar on grid กับ off grid กล่าวคือ ระบบมีการเชื่อมต่อกับการไฟฟ้าสำหรับช่วงที่ไม่มีแดดและมีการใช้แบตเตอรี่เพื่อเก็บพลังงานส่วนที่ผลิตเหลือในตอนกลางวันไปใช้งานในตอนกลางคืนด้วย (คล้ายๆ รถยนต์ hybrid ที่มีการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์และชาร์ตแบตเตอรี่ไปในขณะที่เบรค)

แหล่งที่มา:
[ 1 ] [ 2 ] [ 3 ] [ 4 ]

สามารถติดตั้งกับ "หลังคา" ได้ทุกประเภทหรือไม่ ?

สามารถติดตั้งกับ "หลังคา" ได้ทุกประเภทหรือไม่ ?

โซล่ารูฟท็อป (Solar Rooftop) สามารถติดตั้งบนหลังคาได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องซีเมนต์ หรือเมทัลชีท เพราะหลังคาเป็นส่วนที่รับแรงน้อยมาก ปกติอุปกรณ์แผงโซล่าร์ที่ติดตั้งบนหลังคา จะมีโหลดประมาณ 10-13 kg ต่อตารางเมตร แต่ทั้งนี้ทางทีมวิศวกรที่เข้าตรวจสอบพื้นที่จะเช็คก่อนว่าหลังคาเหมาะสมหรือสามารถรองรับน้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์ได้หรือไม่ อีกทั้งต้องคำนึงถึง ทิศทางของแสงแดด การถูกบดบังแสง รวมไปถึงโครงสร้างของหลังคาว่าสามารถรับแรงได้หรือไม่ และอายุการใช้งานของหลังคาเท่าไหร่

ข้อจำกัดในการติดตั้ง

พื้นที่ติดตั้งไม่ควรมีเงาบัง

ไม่เหมาะกับโครงสร้างหลังคาที่ไม่สามารถรับน้ำหนักอุปกรณ์ได้ หรือโครงสร้างที่มีสภาพการใช้งานมานาน

ไม่เหมาะกับหลังคาสังกะสี หรือ หลังคาแบบลอนคู่ที่เก่าประมาณ 10 ปีขึ้นไป

การขออนุญาตก่อนติดตั้ง Solar Rooftop

การขออนุญาตก่อนติดตั้ง Solar Rooftop สามารถเริ่มดำเนินการขออนุญาตตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

การขอรับใบอนุญาต ก่อสร้าง /ดัดแปลง / ต่อเติมอาคาร (อ.1)

การลงทะเบียนผู้ประกอบกิจการพลังงาน

การรายการตรวจสอบประมวลหลักการปฏิบัติอย่างย่อ (Mini CoP)

การขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2)

การขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4)

การแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า

ใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า

ใบอนุญาตเชื่อมโยงระระบบ PEA/MEA (ใบขนานไฟ)

 

การขออนุญาตก่อนติดตั้ง  Solar Rooftop แบ่งตามขนาดการติดตั้ง

ลำดับ

ชื่อเอกสาร

< 200 kWp

200 – 1,000 kWp

> 1,000 kWp

1

การขอรับใบอนุญาต ก่อสร้าง /ดัดแปลง / ต่อเติมอาคาร (อ.1)

/

/

/

2

การรายการตรวจสอบประมวลหลักการปฏิบัติอย่างย่อ (Mini CoP)

/

/

/

3

การขอรับใบอนุญาตให้ผลิตพลังงานควบคุม (พค.2)

 

/

/

4

การขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4)

 

 

/

5

การแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า

/

/

 

6

ใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า

 

 

/

 

การรับประกันผลงาน
(SYSTEM WARRANTY)

การรับประกันประสิทธิภาพ

รับประกันผลผลิตไฟฟ้าของระบบที่ 80% ของค่า Produced Energy จากการคำนวณของ Program PVSys 3 ปี

รับประกันประสิทธิภาพการผลิตไฟของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่ต่ำกว่า 84.80% (Linear Performance Output) 25 ปี

การรับประกันส่วนประกอบ

แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (PV Module) 12 ปี

อินเวอร์เตอร์ (Inverter System) 10 ปี

ระบบมอนิเตอร์ริ่ง (Monitoring System) 5 ปี

โครงสร้างรองรับแผง (Mounting System) 10 ปี

การบริการดูแลและบำรุงรักษา

บริการล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์

ตรวจสอบการทำงานผ่านระบบมอนิเตอร์ริ่ง

รายงานพลังงานที่ผลิตได้,ค่าสมรรถนะของระบบ,บันทึกสถานะการทำงานของระบบ

ทดสอบและวิเคราะห์ค่าทางไฟฟ้าต่างๆ ในระบบ

จัดทำรายงานผลทดสอบและวิเคราะห์ค่าทางไฟฟ้าต่างๆ ในระบบ

TOU คืออะไร

Time of Use Rate - TOU

อัตราค่าไฟฟ้า ตามช่วงเวลา ของการใช้ หรือ ทีโอยู (Time of Use Rate – TOU)

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2543 รัฐบาลได้ประกาศ โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ และได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ทีโอยู ให้มีช่วง Off Peak มากขึ้น คือ เพิ่มวันเสาร์ และวันหยุดราชการ (ยกเว้นวันหยุดชดเชย) ทั้งวันด้วย

Rate ใหม่ อัตราการจัดเก็บค่าไฟฟ้าที่ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาการใช้ แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ
          – On Peak ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-22.00 น.
          – Off Peak ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 22.00-09.00 น.
และวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดราชการ (ไม่รวมวันหยุดชดเชย) ทั้งวัน

* Peak คือ ช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาสูง เนื่องจากประเทศมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง การไฟฟ้าต้องจัดหาเชื้อเพลิงทุกชนิด ทั้งราคาสูงและราคาต่ำในการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงนี้

* ช่วง Off-Peak คือ ช่วงที่ค่าไฟฟ้ามีราคาต่ำ เนื่องจากประเทศมีความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ โรงไฟฟ้าสามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีราคาต่ำกว่ามาผลิตไฟฟ้าได้จึงทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าในช่วง Off-Peak ต่ำกว่าช่วง Peak

ทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์จาก TOU

          อัตรา TOU สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ เมื่อมีการบริหารการใช้ไฟฟ้าที่ดีและเหมาะสม เช่น

          1. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่ก่อให้เกิดความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) ในช่วง On Peak (09.00-22.00 น.) เพื่อลดค่าพลังไฟฟ้า (Demand Charge)
          2. ในกรณีที่กิจการนั้นมีการทำงาน 2 กะ พิจารณาเลื่อนขบวนการผลิต 1 กะ ให้ไปอยู่ในช่วง Off Peak (22.00-09.00 น.) เพื่อลดค่าความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ในช่วง On Peak ซึ่งค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge) ในช่วง Off Peak จะถูกกว่าช่วง On Peak กว่าร้อยละ 55
          3. ทำงานวันเสาร์วันอาทิตย์และวันหยุดราชการ อย่างเต็มที่ แทนวันทำงานปกติ เนื่องจากวันดังกล่าว ไม่ต้องเสียค่าพลังไฟฟ้า และค่าพลังงานไฟฟ้า จะถูกกว่าวันปกติในช่วง On Peak กว่าร้อยละ 65
          นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง การนำเอาเทคโนโลยี ในการประหยัดพลังงาน ที่เหมาะสม มาใช้ควบคู่กัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า 

 

 

แหล่งที่มา: กองการไฟฟ้า. ทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์จากค่าไฟฟ้าแบบ TOU. [ออนไลน์]. 2545. http://www.eppo.go.th/images/Power/pdf/tou-intro.pdf